ความเป็นมาเกี่ยวกับโครงการ

หลักการและเหตุผล
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 ตลอดจน นโยบายแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาซึ่งเป็น เครื่องมือสำคัญสำหรับการสร้างคน สร้างสังคม และ สร้างชาติ อันเป็นกลไกหลักในการพัฒนากำลังคนให้มี คุณภาพ สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างเป็นสุขท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็วของโลกศตวรรษที่ 21 ในยุคที่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด ถือว่าการพัฒนาประเทศไทยไปสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่มีความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนในระยะยาว สามารถดำเนินได้โดยการพัฒนากำลังคน การวิจัย และการพัฒนานวัตกรรม รวมทั้งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมา ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาด้านการศึกษา ประกอบกับการแพร่ระบาดของโควิด- 19 กิจกรรมหลักประชาชน จึงอยู่ในวิถีปกติใหม่ (New normal) ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิต การเรียน และการทำงานที่ เปลี่ยนไปสู่การใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์ม (Digital platform ที่กลายเป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง โดยเฉพาะในการจัด การศึกษา กระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและแหล่งเรียนรู้ที่ไร้ขีดจำกัด พัฒนา ตนเองผ่านเทคโนโลยีการเรียนรู้สมัยใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2561) หน่วยงานทางการศึกษาจึงพยายามส่งเสริมให้มีการนำองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่ มาใช้ในทุกระดับการศึกษา เพื่อนำมาใช้ในการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต เช่น การใช้แพลตฟอร์ม แอปพลิเคชั่น โมเดล เนื้อหา/สื่อการเรียนรู้ ในการเรียนการสอน (นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อ เศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561 - 2580). 2562)

"การศึกษาและการเรียนรู้" เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศและได้รับการคาดหวังให้ทำ หน้าที่ต่าง ๆ ที่เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นส่วนช่วยในการเพิ่มความเท่าเทียมใน สังคมและเป็นจุดเริ่มต้นของ "การสร้างอาชีพ" ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความ เจริญรุ่งเรืองของประเทศ แต่ในสภาวการณ์ปัจจุบันทั่วโลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจและเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้วิถีชีวิตของคนที่แตกต่างกันมีความ แตกต่างกันมากขึ้น ผู้คนจำนวนมากหลากหลายเชื้อชาติย้ายข้ามประเทศ ข้ามภาษาและข้ามวัฒนธรรมมา อาศัยอยู่รวมกันและทำงานร่วมกันก่อให้เกิดเป็นสังคมพหวัฒนธรรม โลกการทำงาน ปรับเปลี่ยนจากการทำงานที่ใช้บุคคลที่มีองค์ความรู้เดียวกัน ทักษะเดียวกัน และทำงานในสายงานเดียวกัน จำเป็นต้องปรับตัวให้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยต้องจัดการศึกษาและการเรียนรู้ให้ทันกับสถานการณ์โลกที่เต็มไปด้วยความรู้และ ข้อมูลที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งต้องวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศให้ก้าวทันต่อกระแสอาชีพใน ปัจจุบัน และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ตลอดจนเตรียมความพร้อมประชากรวัยเรียนให้มี ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ซึ่งต้องให้ได้ทั้งทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคนโลยี ทักษะชีวิตและอาชีพ เพื่อความสำเร็จทั้งด้านการทำานและการดำเนินชีวิต

Breadcrumbs Image

โรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลซึ่งมีความยากลำบากในการจัดการศึกษา โดยพิจารณาจากสภาพภูมิศาสตร์ ลักษณะการคมนาคม ความหลากหลายของชาติพันธุ์และวัฒนธรรมความเป็นอยู่ ระบบสาธารณูปโภค และ สภาพการจัดการศึกษา สภาพการจัดการศึกษา การดำเนินการจัดการเรียนการสอนมีความพิเศษ ยุ่งยากกว่า โรงเรียนปกติ ได้แก่ การจัดการศึกษาแบบโรงเรียน/ห้องเรียน สาขา และการจัดกรศึกษานักเรียนพักนอน การคมนาคมยากลำบาก ห่างไกลความเจริญ มีความหลากหลายทางภาษา วัฒนธรรม เป็นเหตุให้เกิดการจัด กระบวนการเรียนการสอนที่แตกต่างจากที่อื่นเพื่อให้สอดคล้องกับบริบท วัฒนธรรมของท้องถิ่น และพัฒนา ประชากรในท้องถิ่นให้มีอาชีพที่ยั่งยืน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2554)

หน่วยงานทางการศึกษาในประเทศจึงมีนโยบายให้การสนับสนุนการจัดการศึกษาในโรงเรียนในพื้นที่ ห่างไกลให้มีคุณภาพและลดความเหลื่อมล้ำของคุณภาพการศึกษา รวมถึงการสนับสนุนเยาวชนและประชาชน นอกระบบการศึกษาให้เข้าถึงการเรียนรู้ตลอดทุกช่วงชีวิต (alternative education) เพื่อพัฒนาตนเองและ อาชีพ ด้วยนวัตกรรม องค์ความรู้ และฐานข้อมูลต่าง ๆ แต่ด้วยเหตุความห่างไกลรกันดารจึงมีปัจจัยบริบท โรงเรียนเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไฟฟ้า อุปกรณ์เทคโนโลยีต่าง ๆ หรือที่เรียกว่าทรัพยากรของโรงเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลบางแห่งที่ยังคงไม่มีไฟฟ้าใช้ ทำให้การจัดการเรียนการสอนออนไลน์หรือ ลักษณะเรียลไทม์ (real time) เป็นไปได้ยาก อาจจำเป็นจะต้องมีสื่ออื่นทดแทน อาทิ วิทยุเพื่อการเรียนรู้ การ จัดเก็บสื่อในอุปกรณ์เก็บข้อมูล เช่น memory drive รูปแบบสื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์ เสียง คลิปวิดีโอ เกม หรือแอป พลิเคชัน สำหรับการเรียนและการพัฒนาอาชีพที่หมาะสมกับพื้นที่ห่างไกล

ดังนั้น เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล ให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้และการพัฒนาอาชีพที่เหมาะสม จึงต้องมีการพัฒนาคลังความรู้สำหรับการเรียนรู้และการพัฒนาอาชีพที่ เหมาะสมกับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล โดยการรวบรวมคลังความรู้ รวมถึงการผลิตสื่อใหม่สำหรับการเรียนและ การพัฒนาอาชีพที่เหมาะกับคุณลักษณะผู้เรียนให้สามารถใช้งานได้ในหลากหลายบริบท และเป็นการส่งเสริมให้ เด็ก เยาวชน และประชาชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ